ฉนวนถอดได้ ฉนวนประหยัดพลังงาน ฉนวนผ้า ฉนวนทนความร้อน ฉนวนตัดเย็บ
ปัจจุบัน เครื่องจักรหลายๆ ประเภทใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต แหล่งกำเนิดความร้อนเหล่านั้นมีอุณหภูมิสูง และมีการสูญเสียความร้อนให้กับอากาศแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และยังส่งผลให้อากาศในห้องมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกด้วย
การหุ้มฉนวน เป็นการป้องกันความร้อนสูญเสียได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เครื่องฉีดพลาสติกที่ใช้ความร้อนจากฮีทเตอร์ ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก โดยฮีทเตอร์ของเครื่องฉีดที่ใช้งานอยู่ โดยส่วนใหญ่จะไม่มีการหุ้มฉนวน ความร้อนส่วนหนึ่งจึงสูญเสียให้กับอากาศแวดล้อมโดยรอบ ทำให้ฮีทเตอร์ไฟฟ้าต้องทำงานบ่อย สูญเสียพลังงานไฟฟ้าโดยไม่เกิดประโยชน์ หากทำการหุ้มฉนวนเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจะทำให้รักษาอุณหภูมิเอาไว้ได้นานขึ้น เป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้อย่างมาก
แต่ฉนวนทั่วไปในท้องตลาดไม่สามารถติดตั้งกับฮีตเตอร์ได้ หรือเมื่อทำการติดตั้งไปแล้วจะทำการถอดประกอบได้ยาก ทำให้มีปัญหาในการดูแลรักษาเครื่องจักร เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองต่อการใช้งานดังกล่าว REMOVABLE INSULATION JACKET หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ฉนวนแจ็คเก็ต หรือ ฉนวนถอดได้ จึงได้
เกิดขึ้น
REMOVABLE INSULATION JACKET (ฉนวนแจ็คเก็ต, ฉนวนถอดได้) คือ ฉนวนป้องกันความร้อนสูญเสียที่ขึ้นรูปโดยการนำฉนวนเซรามิกไฟเบอร์ห่อหุ้มด้วยผ้าทนความร้อนสูง ผ่านการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญให้เหมาะสมกับเครื่องจักรของลูกค้า (Made by order) สามารถถอด - ประกอบได้ง่าย และทำการ
ตัดเย็บโดยวัสดุที่ทนความร้อนได้สูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถอธิบายโดยละเอียดได้ ดังนี้
1. รูปแบบการใช้งาน ฉนวนแจ็คเก็ตสามารถใช้งานได้กับเครื่องจักรหลากหลายประเภท ดังตัวอย่างต่อไปนี้
● ฉนวนหุ้มฮีตเตอร์ เช่น ฉนวนหุ้มเครื่องฉีดพลาสติก, ฉนวนหุ้มเครื่องเป่าพลาสติก, ฉนวนหุ้มเครื่องรีดพลาสติก, ฉนวนหุ้มเครื่องรีไซเคิลพลาสติก
● ฉนวนหุ้มเครื่องอบขึ้นรูป เช่น ฉนวนหุ้มเครื่องอบยางรถยนต์
● ฉนวนเตาอบ เช่น ฉนวนหุ้มเครื่องซิ้งฟิล์ม, ฉนวนหุ้มเตาต่างๆ
● ฉนวนหุ้มวาล์ว ท่อและข้อต่อ เช่น ฉนวนหุ้มท่อร้อน, เสื้อหุ้มวาล์ว, ฉนวนหุ้มท่อไอเสีย
● ฉนวนหุ้มเครื่องกำเนิดความร้อนอื่นๆ เช่น ฉนวนหุ้มหม้อต้ม, ฉนวนหม้อไอน้ำ
2. ประโยชน์จากการหุ้มฉนวนกันความร้อน
- ช่วยประหยัดไฟได้มากถึง 50%
เมื่อฮีตเตอร์หรือเครื่องกำเหนิดความร้อนทำงาน นอกจากความร้อนที่สามารถนำไปใช้ได้แล้วนั้น ยังมีความร้อนที่สูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา นั่นคือ การสูญเสียความร้อนให้แก่อากาศจากการถ่ายเทความร้อน (โดยการพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน) การหุ้มฉนวนกันความร้อนจะช่วยลดการสูญเสียดังกล่าว ซึ่งสามารถพิสูจน์ผลเปรียบเทียบพลังไฟฟ้าก่อนติดตั้ง และหลังติดตั้งฉนวนได้ทันทีด้วยเครื่องบันทึกค่าพลังไฟฟ้า หรือมิเตอร์ไฟฟ้า
- ลดความร้อนและอุณหภูมิสะสมภายในห้องทำงาน สร้างบรรยากาศที่ดีขึ้น
ปกติพื้นผิวของฮีตเตอร์ที่ไม่มีฉนวนจะร้อนใกล้เคียงกับอุณหภูมิ Set point (ประมาณ 100 – 500 องศาเซลเซียส ขึ้นกับอุณหภูมิปรับตั้ง) ซึ่งความร้อนดังกล่าว จะถ่ายเทออกสู่อากาศโดยรอบ ทำให้อุณหภูมิห้องร้อนตามไปด้วย หลังจากทำการติดตั้งฉนวน อุณหภูมิที่พื้นผิวของฉนวนหลังทำการหุ้มจะอยู่ที่ 40 – 60 องศาเซลเซียสเท่านั้น สามารถใช้มือแตะได้โดยตรง ทำให้ความร้อนถ่ายเทสู่อากาศน้อยลง ห้องก็ร้อนน้อยลงตามไปด้วย
- ลดระยะเวลาการวอร์มฮีทเตอร์ ช่วยให้ฮีตเตอร์ร้อนเร็วขึ้น ทำงานได้ไวขึ้น
เมื่อทำการหุ้มฉนวน จะช่วยกักเก็บความร้อนไว้ไม่ให้ถ่ายเทออกสู่อากาศ ทำให้การวอร์มฮีตเตอร์สั้นลง ถึง Set point เร็วขึ้น ทำให้เริ่มเดินเครื่องจักรได้เร็วขึ้น
- เป็นการ Safety กับพนักงานที่ปฏิบัติงานใกล้แหล่งกำเนิดความร้อน
การหุ้มฉนวนแจ็คเก็ต ช่วยป้องกันอันตรายจากการสัมผัสพื้นผิวร้อนโดยตรงได้ เช่นอุบัติเหตุจากการลื่นล้มในการทำงาน
- คืนทุนได้ภายใน 1 ปี
สามารถพิสูจน์ผลประหยัดจากการหุ้มฉนวนฯ ได้โดยทำการวัดพลังไฟฟ้าที่เครื่องจักรใช้งาน เพื่อเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนและหลังการติดตั้งฉนวนฯ ว่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงกี่กิโลวัตต์ แล้วนำค่าดังกล่าวมาคำนวณตามเวลาการทำงานจริงของเครื่อง ก็จะสามารถทราบผลประหยัดต่อปี ระยะเวลาคืนทุน และความคุ้มค่าในการลงทุน
- ตัดเย็บและขึ้นรูปตามพื้นผิวที่ต้องการด้วยวัสดุคุณภาพสูง ทนความร้อนได้ถึง 1,000 องศา
เราสามารถออกแบบตัดเย็บฉนวนได้หลากหลายรูปแบบตามหน้างาน เปรียบเสมือนตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล จึงทำให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับเครื่องจักรนั้นๆ วัสดุที่ใช้ผ่านการทดสอบว่าสามารถทนได้ถึง 1,000 องศาเซลเซียส
- สามารถถอดและใส่ฉนวนแจ็ตเก็ตได้ง่ายดาย และสะดวก
การปรึกษาพูดคุยกับผู้ดูแลเครื่องจักรถึงข้อจำกัด และลักษณะการทำงาน ทำให้สามารถออกแบบการตัดเย็บให้เหมาะสมกับการทำงาน อีกทั้งวิธีจับยึดฉนวนของเรายังใช้ก้ามปูเหล็กชุบนิกเกิล ที่ทนทาน สวยงาม และสามารถถอด-ใส่ได้ด้วยการกดแค่คลิ๊กเดียว (ไม่ต้องปรับตั้งสายเข็มขัดใหม่ทุกคร้องที่มีการถอด) จึงง่ายและสะดวกต่อผู้ดูแล
3. การพิสูจน์ผลประหยัดและการตรวจวัดความร้อนที่ลดลงลงจากการติดตั้งฉนวน
- การตรวจวัดผลประหยัดไฟฟ้าด้วยเครื่องบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้า (Power Recorder)
- การตรวจวัดผลประหยัดจากความร้อน เช่น ไอน้ำ, Heat oil ด้วยการวิเคราะห์ค่าทางวิศวกรรม
- การตรวจวัดอุณหภูมิผิวและอุณหภูมิบรรยากาศรอบเครื่องจักรหลังติดตั้งฉนวน
4. วัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บมาตรฐาน (Standard specification)
ทางบริษัทฯ ได้ออกแบบและตัดเย็บ ฉนวนแจ๊คเก็ต โดยใช้วัสดุหลายชนิดประกอบกัน ซึ่งวัสดุมาตรฐานที่บริษัทเลือกใช้ให้ เหมาะสมสำหรับแหล่งกำเหนิดความร้อนที่มีอุณหภูมิต่างๆ โดยวัสดุมาตรฐานประกอบไปด้วย